ทาสีเองง่ายๆ

วิธีทาสีบ้านเอง ฉบับมือใหม่สรุปรวบลัดให้เข้าใจง่าย

การทีสีบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการทาสีภายใน การทาสีบ้านภายนอก การทาสีบ้านทับสีเก่า ถือว่าเป็นศิลปะได้อย่างหนึ่งเลยนะครับ ไม่ต่างจากการที่เราจับพู่กันวาดภาพระบายสี แต่จะแตกต่างกันที่ส่วนที่เราจะระบายนั้นเป็นผนังจริงๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่า ใช้กำลังในการระบายมากกว่า และใช้เทคนิคการลงสีเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้นก็สามารถระบายผนังให้สวยงาม ดุจดั่งช่างมืออาชีพมาทาเองได้ครับ

 

 

วิธีทาสีเอง1

 

 

สรุป

 

 

 

โดยทั่วไปการทาสีจะมีอยู่ ขั้นพื้นฐานง่ายๆครับ  คือ ขั้นตอนการทาสีรองพื้น  และขั้นตอนการทาสีทับหน้า

 

 

 

1.ขั้นตอนการทาสีรองพื้น

เพื่อปรับสภาพพื้นผิวให้เหมาะสมแก่การทาสี โดยรองพื้นจะทำหน้าที่เป็นกาวชั้นแรกที่ติดกับผนังของเรา สามารถใช้อุปกรณ์ในการทาได้ทั้งลูกกลิ้ง และแปรงทาสี (ควรใช้ขนาดของลูกกลิ้งและแปรงให้เหมาะกับพื้นที่) เช่น ใช้ลูกกลิ้งขนาด 10 นิ้ว ในการทาพื้นที่ขนาดใหญ่ เพื่อความรวดเร็ว และ ใช้แปรงขนาดเล็ก เก็บตามขอบของผนัง เพื่อไม่ให้ไปเลอะส่วนอื่น หรือ การใช้เทปปิดตามขอบบัว หรือ ฝ้า ก่อนที่เราจะทาลงบนผนังครับ

 

ทั้งนี้การเลือกสีรองพื้นให้ถูกต้องกับสภาพของผนังนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน โดยจะแบ่งสีรองพื้นออกเป็น 3 แบบง่ายๆ คือรองพื้นปูนเก่า รองพื้นปูนใหม่ และ รองพื้นปูนเอนกประสงค์  

 

รองพื้นปูนเก่า จะใช้กับปูนที่เก่าแล้ว (เก่าแล้วในที่นี้หมายถึงปูนที่ฉาบแล้วมากกว่า 1-3 เดือนเป็นต้นไป)

 

รองพื้นปูนใหม่ ตรงตามชื่อผลิตภัณฑ์อีกเหมือนเดิมครับ ใช้สำหรับปูนที่ฉาบใหม่(ไม่เกิน 1-3 เดือน)

 

เหตุผลที่เราต้องแยกรองพื้นปูนใหม่และรองพื้นปูนเก่าแบบนี้ เป็นเพราะว่า หลังจากที่ฉาบแล้ว ภายในปูนจะยังมีความชื้นหลงเหลืออยู่ เมื่อมีความชื้นอยู่ภายใน การที่เราจะทาสีรองพื้นลงไปนั้น หากไม่ทนทานต่อคามชื้นมากพอก็จะเกิดเป็นด่างๆขึ้นมาครับ โดยที่ปกติแล้วปูนฉาบใหม่จะแห้งและกลายเป็นปูนเก่าภายใน 1-3 เดือน

 

และอย่างสุดท้าย รองพื้นปูนอเนกประสงค์ ซึ่งตัวนี้จะสามารถใช้ได้กับทั้งปูนใหม่และปูนเก่า โดยที่ในแง่ของคุณภาพจะค่อนข้างสูงและมีคุณสมบัติหลากหลาย

*โดยที่รองพื้นแต่ละชนิดนั้น จะใช้ทากัน เที่ยว และทิ้งไว้ให้แห้ง จึงจะเริ่มทาสีได้ครับ*

 

 

 

 


 

 

2.ขั้นตอนการทาสีทับหน้า

หรือบางคนอาจจะเรียกสีจริง แบ่งออกง่ายๆเป็นภายนอกและภายใน แบ่งแบบเข้าใจง่ายๆคือแบบสีทาภายนอกโดยปกติจะเน้นไปที่เรื่องความทนทาน ส่วนสีทาภายในจะเน้นไปที่เรื่องคุณสมบัติต่างๆ ตามเกรดการใช้งานครับ

 

โดยที่การทาสีทับหน้าก็จะมีหลายฟิล์มสีให้เลือกอีกเช่นเดียวกันที่นิยมและแพร่หลายกันก็คือ เนียน ด้าน และ ที่นิยมกันมากที่สุดคือแบบกึ่งเงา เนื่องจากฟิล์มสีแบบนี้จะทำให้ง่ายต่อการเช็ดล้าง แต่ก็มีข้อเสียเล็กๆอยู่เหมือนกัน นั่นก็คือหากผนังเราไม่เรียบเนียน แบบกึ่งเงาก็จะทำให้เห็นรอยได้ชัดมากกว่าฟิล์มสีแบบอื่นครับ

 

การทาสีทับหน้านั้นสรุปง่ายๆเลยก็ คือ รอให้สีรองพื้นปูนแห้งจนทาทับได้ หลังจากนั้นก็ทาสีจริงทับเข้าไปอีก 2 เที่ยว โดยที่แต่ละเที่ยว ให้รอสีแห้งก่อนครับ ซึ่งข้อควรระวังจากที่ลูกค้าหลายคนค่อนข้างตกใจกับขั้นตอนนี้กันพอสมควร คือ สีไม่เหมือนกับที่เลือกไว้ !!! แต่เดี๋ยวก่อน!!! เพราะการทาสีจริงๆ นั้นจะเป็นสีที่ตรงกับที่เลือกไว้ก็ต่อเมื่อทาครบ เที่ยว และรอจนเนื้อสีแห้งสีจึงจะขึ้นเต็มๆ ครับ

 

 

สรุปขั้นตอนการทาสีเบื้องต้นง่ายๆ ทาสีรองพื้น และทาสีทับหน้าครับ แต่ถึงอย่างไรหากสภาพปูนของเรามีสภาพแย่ เช่น มีรอยแยกขนาดใหญ่ มีรอยร้าวลึก ก็แนะนำให้โป๊วในส่วนที่มีรอยก่อนถึงขั้นตอนทาสีรองพื้นครับ หากสภาพปูนของเราไม่มี

 

 

 

คำแนะนำจากช่างใหญ่มือฉมัง

ระวังสีหยดเวลากลิ้งสีจากถาดทาสี หรือจากการจุ่มลูกกลิ้งในถังสี หรืออาจจะปูพื้นด้วยกระดาษลังหรือกระดาษหนังสือพิมพ์

เวลาใช้ลูกกลิ้งในการทา แนะนำให้ทาสลับเป็นฟันปลาแนวตั้งไปเรื่อยๆ

ขั้นตอนการเก็บขอบนั้นสำคัญมาก เพราะอาจทำให้สีไปเลอะส่วนอื่นๆได้ หากไม่ถนัดจริงๆแนะนำให้ใช้เทปปิดในส่วนขอบบัวหรือฝ้าที่มีโอกาสโดนแปรงได้

คำนวณพื้นที่สีให้พอดี และเหลือดีกว่าขาด!! เนื่องจากส่วนมากถ้าไม่ใช่ช่างสีเอง การจะทาให้ได้พื้นที่ตามปริมาณที่ระบุไว้จะทาได้ไม่ค่อยถึง(ไม่ว่าจะจากการจุ่มสีเยอะเกิน สีหยด หรือทาหนาเกินไป)

ไม่ควรรีบทาสีเที่ยวถัดไปเร็วจนเกินไป เนื่องจากการแห้งตัวของสีนั้นมี2แบบคือการแห้งตัวที่พื้นผิว และการแห้งตัวมากพอจนทาทับได้

 


 

สามารถสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บ bs191 หรือสั่งผ่านช่องทางอื่นได้ ดังนี้ 

เพิ่มเพื่อน “baansabai191“baansabai_191“baansabai_191

Copyright © 2022 Bannsabai. CO.,LTD.. All Rights Reserved.